THE PARADISE OF THORNS MOVIE REVIEW: THE PAIN THAT EVEN SAME-SEX MARRIAGE CAN'T MAKE UP FOR

The Paradise of Thorns Movie Review: The Pain That Even Same-Sex Marriage Can't Make Up For

The Paradise of Thorns Movie Review: The Pain That Even Same-Sex Marriage Can't Make Up For

Blog Article

รีวิวหนัง The Paradise of Thorns วิมานหนาม:  ความเจ็บปวดที่แม้แต่สมรสเท่าเทียมก็ชดเชยไม่ได้


ข้อมูลหนัง


ผู้กำกับ : บอส นฤเบศ กูโน


โปรดิวซ์เซอร์: วัน วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์


ผู้ผลิต : ค่าย จีดีเอช, ใจ สตูดิโอ


แนว : ดราม่า ทริลเลอร์


ความยาว : 125 นาที


เรท : 15+


เข้าฉาย : 22 สิงหาคม 2024


นำแสดงโดย : เจฟ ซาเตอร์, อิงฟ้า วราหะ, เต้ย พงศกร, เก่ง หฤษฎ์, สีดา พัวพิมล


The-Paradise-of-Thorns-Movie-Review-The-Pain-That-Even-Same-Sex-Marriage-Cant-Make-Up-For


เรื่องย่อ 


‘ทองคำ’ (เจฟ ซาเตอร์) ที่นำเงินก้อนใหญ่ที่สุดในชีวิตมาลงทุนปลูกบ้านทำสวนทุเรียน และไถ่ถอนที่ดินให้กับ ‘เสก’ (เต้ย พงศกร เมตตาริกานนท์) ที่ติดจำนองอยู่ตั้งแต่รุ่นพ่อ แต่เมื่อกำลังจะได้เก็บเกี่ยวทุเรียนที่มาจากหยาดเหงื่อแรงงานของทั้งคู่ เสกกลับเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต กรรมสิทธิ์บ้านและสวนจึงตกเป็นของ ‘แม่แสง’ (สีดา พัวพิมล) แม่ของเสกตามกฎหมาย และแม่แสงก็ย้ายเข้ามาอยู่ที่สวนพร้อมกันกับ ‘โหม๋’ (อิงฟ้า วราหะ) ลูกสาวที่เก็บมาเลี้ยง และเรียก ‘จิ่งนะ’ (เก่ง หฤษฎ์ บัวย้อย) น้องชายของโหม๋ มาอยู่ด้วยกัน ทองคำจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อที่จะทวงวิมานที่เขาสร้างคืนมา ในขณะที่โหม๋ก็ทำทุกทางที่จะปกป้องสิทธิ์ที่ถูกต้อง ‘ตามกฎหมาย’ ของแม่ โดยหวังว่าจะได้ร่วมครอบครองเช่นกัน  หนังออนไลน์

ภาพยนตร์ที่เติบโตจากรากแห่งความเหลื่อมล้ำ แต่เมื่อเราได้นั่งลงและรับชมเรื่องราวทั้งหมด เรากลับพบว่านี่คือเรื่องราวของความเหลื่อมล้ำที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศ สังคม และสิทธิทางกฎหมาย ไม่เพียงแต่เฉพาะของ LGBTQIA+ เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของทุกคน

สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดคือการนำเสนอแง่มุมของความเหลื่อมล้ำของความเป็นชายและหญิงในเรื่อง ซึ่งประเด็นนี้เรามักจะได้เห็นจากในมุมมองของเฟมินิสต์ในเชิงว่าผู้หญิงถูกกดทับและปลดแอกตัวเองจากการกดทับของสังคม แต่ในเรื่องนี้เราได้เห็นมันถูกนำมาเป็นอาวุธที่แหลมคมให้โหม๋และทองคำนำมาห้ำหั่นกันในเรื่อง

เพราะแม้ว่าทองคำจะถูกกดทับจากการเป็นชายรักชาย แต่ ‘เพศชาย’ ของเขาก็ยังเอื้อให้เขามีแต้มต่อและถือไพ่ตายอย่างการบวชให้แม่แสงได้ ‘เกาะชายผ้าเหลือง’ ไปสวรรค์ แบบที่โหม๋ไม่มีวันจะทำให้ได้ในชาตินี้ หรือ โหม๋ในฐานะลูกสาว ก็สามารถดูแลแม่แสงอย่างในพื้นที่ๆ ทองคำไม่มีวันเข้าไปได้ ตั้งท้อง และแต่งงานโดยมีสิทธิ์เสียงทางกฎหมายได้อย่างที่ทองคำไม่มีวันได้รับ

รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำในแง่ของกฎหมาย สิ่งที่ทั้งปกป้องสิทธิ์ของผู้ที่เข้าใจและรู้จักใช้ แต่ในขณะเดียวกันก็ฉกฉวยสิทธิ์ไปจากผู้ที่เสียเปรียบในโลกที่กฎนั้นไปเอื้ออำนวย ทำให้สิ่งที่ควรเป็นกฎเกณฑ์ที่คอยปกป้องกลายเป็นหนามที่ทิ่มตำใจของประชาชน ไม่ว่าจะเป็น

แม่แสง ที่ไม่ได้รับมรดกเพราะไม่มีทะเบียนสมรส สำหรับผู้หญิงที่ไม่มีทะเบียนสมรส ลูกคือสมบัติชิ้นเดียวที่เธอจะมีได้ ทำให้ลูกอย่างเสกเป็นทั้งการลงทุนทั้งชีวิตและร่างกายของผู้หญิงคนหนึ่ง หรือแม้แต่การเกาะชายผ้าเหลืองไปสวรรค์ แม่แสงก็ฝากไว้กับลูกชายคนนี้ การสูญเสียเสกและน้ำตาที่รินไหลจึงไม่ได้ไหลให้กับชีวิตที่ถูกพรากไปของลูกชายเท่านั้น แต่เป็นอนาคตที่ดีขึ้นของแม่แสงเองด้วย ทำให้ความรู้สึกว่าต้องได้รับการชดเชยของแม่แสงทบต้นขึ้นเป็นพันทวี

โหม๋ ลูกที่ไม่ได้ถูกรับรองด้วยกฎหมาย แม้ว่าจะดูแลแม่แสงมาตลอดชีวิต คอยพยาบาลแม่แสงที่เดินไม่ได้มากว่า 20 ปี แต่หากไม่มีเอกสารยืนยันความเป็นบุตร หรือพินัยกรรมโหม๋ก็นับว่าเป็นคนอื่น ไม่ต่างอะไรกับคนรับใช้แม่แสง และสิ่งนี้ก็ถูกสะท้อนผ่านการต้องการได้รับการรับรองด้วยกฎหมายของโหม๋ ไม่ว่าจากแม่แสง หรือผ่านทางการแต่งงาน

ทองคำที่ไม่ได้สิทธิ์ในหรือสมบัติเป็นของตนเพียงเพราะความรัก ความทรงจำ และหลักฐานใดๆ ที่เขามี หนักแน่นไม่พอ เมื่อเทียบกับความรักที่ยืนยันด้วยกระดาษและลายเซ็นอย่างทะเบียนสมรส ความอยุติธรรมที่พวกเขาได้รับก็เติบโตมาจากสิทธิและปัญหาทางการเงินที่ชี้นิ้วไปที่ตัวร้ายตัวจริงของเรื่องอย่างความเหลื่อมล้ำทางสังคม ที่เกิดจากโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่รองรับผู้ชรา พิการ และยากจนอย่างแม่แสง

ชีวิตของแม่แสงสะท้อนให้เห็นว่าวาทกรรมคลาสสิกอย่าง ‘มีลูกไว้ดูแลยามแก่เฒ่า’ นั้นยังเป็นเรื่องจำเป็นในสังคมต่างจังหวัดที่สิทธิขั้นพื้นฐานอย่างการคมนาคมและการรักษาพยาบาลเข้าไปไม่ถึงคนที่ต้องการที่จะได้รับมันมากที่สุด ในเมื่อมรดกเดียวอย่างที่ดินห้าไร่ติดจำนองอยู่ที่สหกรณ์​ ต้องพิการจากทำงานหนักเพื่อเลี้ยงลูกเล็ก และต้องอยู่ห่างจากลูกชายคนเดียวที่ต้องออกไปทำงานเพื่อส่งเงินมาจุนเจือแม่และสร้างอนาคตของตัวเอง ทางเลือกเดียวของแม่แสงคือการหาลูกนอกไส้มาทดแทนเพื่อที่จะทำให้แน่ใจว่าจะมีคนดูแลไปจนสิ้นอายุขัย


ความรู้สึกที่ได้จากการรับชมหนัง


วิมานหนาม ได้ทำให้เห็นภาพของความเจ็บปวดจากความไม่เท่าเทียมทางสังคมเหล่านี้ ที่กลายเป็นทรัพย์สินซึ่งถูกส่งต่อเป็นทอดๆ แทนมรดก เหมือนกับการที่แม่แสงเผชิญความอยุติธรรมจึงส่งต่อความอยุติธรรมนี้ไปให้โหม๋ที่ต้องดูแลแม่แสงแบบไม่มีเงินเดือนและสวัสดิการอะไรรองรับ ส่งให้พวกเธอหวงแหนและแย่งชิงเพื่อครอบครอง  2u-hd.com

วิมาน ‘มุงสังกะสี’ ที่พวกเธอสมควรได้รับด้วยกฎหมาย เพราะหากไม่ต่อสู้ ตัวแม่แสงและในอนาคตโหม๋อาจจะต้องนอนบ้านหลังคามุงจาก เก็บกะหล่ำเลี้ยงตัวเอง และรอให้มีคนขับรถกระบะขี่รถมอเตอร์ไซค์พาไปส่งโรงพยาบาลตลอดชีวิต โดยไม่ได้เคยสัมผัสความเย็นจาก แอร์ ตู้เย็น หรือความปลอดภัยจากฟ้าฝนมากกว่าหลังคามุงจาก แต่ความชอบธรรมนี้กลับไปเบียดเบียนทองคำที่สร้างมันขึ้นมา และทำให้ทุกอย่างล้มต่อกันไปเหมือนกับโดมิโน่

หากจะมีข้อกังขาอะไรเกี่ยวกับวิมานหนามก็อาจจะเป็นช่วงท้ายของเรื่อง ที่หลายคนอาจจะมองว่ากระโดดจากความเป็นภาพยนตร์เชือดเฉือนไปมีความเป็นแอ็คชั่นมากขึ้น แต่หากเข้าใจความเจ็บปวดของตัวละครดีพอแลัวความรู้สึกขัดใจนี้อาจจะเบาบางลงไปไม่น้อย อีกส่วนที่น่าจะสร้างการถกเถียงได้พอสมควรคือตอนจบของเรื่องซึ่งที่จริงมีความเป็นไปได้อีกหลายแบบ แต่ทางเลือกของผู้กำกับอย่าง บอส กูโน ก็เป็นการยืนยันความเชื่อที่แท้จริงของเขาที่สะท้อนอยู่ในตัวละครทองคำตลอดทั้งเรื่องได้เป็นอย่างดี

#ดูหนังฟรี #ดูหนังใหม่2024 #TheParadiseofThorns #วิมานหนาม

กลับด้านบน

Report this page